Welcome to my blog

อาณาจักรพืช ( Kingdom Plantae)

พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกำเนิดขึ้นมาแล้วไม่ต่ำกว่า 400ล้านปี มีหลักฐานหลายอย่าง ที่ทำให้เชื่อว่า พืชมีวิวัฒนาการมาจากสาหร่ายสีเขียว กลุ่ม Charophytes โดยมีการปรับตัวจากสภาพที่เคยอยู่ในน้ำ ขึ้นมาอยู่บนบก ด้วยการสร้างคุณสมบัติต่างๆ ที่เหมาะสมขึ้นมา เช่น มีการสร้างคิวติน(cutin) ขึ้นมาปกคลุมผิว ของลำต้นและใบเรียกว่า คิวทิเคิล (cuticle) เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ และการเกิด สโทมาตา (stomata) เพื่อทำหน้าที่ระบายน้ำ และแลกเปลี่ยนก๊าซ เป็นต้น
ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช
           พืชมีโครงสร้างที่ประกอบขึ้นด้วยหลายเซลล์ที่มารวมกลุ่มกันเป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่เฉพาะ อย่างเซลล์ของพืชมีผนังเซลล์ที่มีสารประกอบ เซลลูโลส (cellulose) เป็นองค์ประกอบ ที่พบเป็นส่วนใหญ่ พืชทุกชนิดที่คุณสมบัติที่สามารถสร้างอาหารได้เอง จากกระบวนการ สังเคราะห์ด้วยเสง โดยบทบาทของรงควัตถุ คลอโรฟิลล ์(chlorophylla & b) ที่อยู่ในคลอโรพลาสต์เป็นสำคัญ รงควัตถุหลักที่พบได้ในเซลล์พืช จะเหมือนกับที่พบในเซลล์ ของสาหร่ายสีเขียว ได้แก่ คลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลล์บี และแคโรทีนอยด์ นอกจากนี้ พืชยังสะสมอาหารในรูปของแป้ง (starch)

ภาพแสดงเซลล์พืช

ภาพแสดงการเปรียบเทียบเซลล์พืช และเซลล์สัตว์

          วงชีวิต (life cycle) ของพืชเป็นวงชีวิตแบบสลับ (Alternation of Generation) คือ ประกอบด้วย ช่วงชีวิตที่เป็นสปอโรไฟต์ (sporophyte generation) ทำหน้าที่สร้างสปอร์ (spore) สลับกับช่วงชีวิตที่เป็นแกมีโทไฟต์ (gametophyte generation) ทำหน้าที่สร้างแกมีต (gamete) ได้แก่ เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้หรือสเปิร์ม (sperm) และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียหรือไข่ (egg) ซึ่งจะมารวมกันเพื่อให้ได้เป็นเซลล์ใหม่คือ ไซโกต (zygote)
อวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของพืชประกอบขึ้นด้วยหลายเซลล์โดยมีเซลล์โดยมีเซลล์ที่เป็นหมัน (sterile cell) ห่อหุ้มอยู่รอบนอก การเจริญของพืชจากไซโกตไปเป็นสปอโรไฟต์จะต้องผ่านจะต้องผ่านระยะที่เป็นเอ็มบริโอ (embryo) ก่อน คุณสมบัติทั้ง 2 ประการ ดังกล่าวนี้จะไม่พบในพวกสาหร่าย (algae) 
วงชีวิตแบบสลับ 
          พืชส่วนใหญ่จะมีสปอโรไฟต์เด่น คือมีขนาดที่มองเห็นได้ชัดเจนทั่วไป ในขณะที่แกมีโทไฟต์ มีขนาดเล็กแทบมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าในพืชบางกลุ่ม แกมีโทไฟต์ประกอบขึ้นด้วยเซลล์ที่เป็นโมโนพลอยด์ (n) จำนวนมากทำหน้าที่สร้างแกมีต
          สปอโรไฟต์ของพืชประกอบขึ้นด้วยเซลล์ที่เป็นดิพลอยด์(2n)ทำหน้าที่ สร้างสปอร์ จากการแบ่งเซลล์ แบบไมโอซิสของสปอร์มาเทอร์เซลล์ (spore mother cell) ที่อยู่ภายในอับสปอร์ (sporangium) สปอร์ซึ่งเป็นเซลล์ที่เป็นเฮพลอยด์ (n) จะแบ่งตัวเจริญต่อไปเป็นแกมีโทไฟต์ (n) ที่ทำหน้าที่สร้างแกมีตคือ สเปิร์ม และไข่
           การปฏิสนธิ (fertilization) คือการรวมตัวกันของสเปิร์ม (n) และไข่ (n) จะทำให้ได้เซลล์ใหม่ที่เป็นดิพลอยด์ (2n) คือ ไซโกตเกิดขึ้นมา และต่อจากนั้นไซโกตจะแบ่งเซลล์ ได้เป็นเอ็มบริโอ ก่อนที่จะเจริญต่อไป เป็น สปอร์โรไฟต์ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ไซโกตคือ เซลล์เริ่มต้นของช่วงสปอโรไฟต์ และสปอร์คือเซลล์เริ่มต้น ของช่วงแกมีโทไฟต์ ในพืชกลุ่มที่ไม่สร้างเมล็ด ส่วนใหญ่จะมีการสร้างสปอร์เพียงชนิดเดียว(homospore)ซึ่ง สปอร์ดังกล่าวจะแบ่งตัว และเจริญต่อไปเป็นแกมีโทไฟต์ที่ทำหน้าที่สร้างทั้งสเปิร์มและไข่ บนต้นเดียวกัน แต่สำหรับพืชที่มีการสร้าง เมล็ดแล้วทุกชนิด จะสร้างสปอร์เป็น2ชนิด (heterospore) ได้แก่ ไมโครสปอร์ (microspore) และ เมกะสปอร์ (megaspore) ไมโครสปอร์จะแบ่งตัวเจริญต่อไปเป็น ไมโครแกมีโทไฟต์ (microgametophyte) หรือแกมีโทไฟต์เพศผู้ (male gametophyte) ทำหน้าที่สร้างสเปิร์ม และเมกะสปอร์ จะแบ่งตัวเจริญต่อไป เป็นเมกะแกมีโทไฟต์ (megagametophyte) หรือแกมีโทไฟต์เพศเมีย (female gametophyte) ทำหน้าที่สร้างไข่ ต่อไป
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 10 ดิวิชั่น คือ


   1. Division Bryophyta พืชที่ไม่มีระบบท่อลำเลียง มีขนาดเล็ก ได้แก่ มอส ลิเวอร์เวิร์ต และฮอร์นเวิร์ด


    2. Division Psilophyta พืชที่มีท่อลำเลียงชั้นต่ำ ไม่มีใบและรากที่แท้จริง ได้แก่ หวายทะนอย (Psilotum)


    3. Division Lycophyta พืชที่มีท่อลำเลียงที่มีลำต้น ใบ และรากที่แท้จริงแต่ยังมีใบขนาดเล็ก ได้แก่ ช้องนางลี่ ( Lycopodium ) และ ตีนตุ๊กแก (Sellaginella  )




    4. Division Sphenophyta พืชที่มีท่อลำเลียง ลำต้นลักษณะเป็นข้อและปล้อง มีการสร้างสปอร์ ได้แก่ สนหางม้าหรือหญ้าถอดปล้อง ( Equisetum )



    5. Division Pterophyta พืชที่มีท่อลำเลียง มีหลายชนิดแตกต่างกัน ได้แก่ เฟิร์น( Fern ) แหนแดง( Azolla ) และจอกหูหนู ( Salvinia )



    6. Division Coniferophyta พืชที่สร้างเมล็ดเปือย ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ได้แก่ พวกสน ( Pinus ) เช่น สนสองใบและสนสามใบ



    7. Division Cycadophyta พืชที่สร้างเมล็ดเปือย ได้แก่ ปรง ( Cycad )


    8. Division Ginkgophyta พืชที่สร้างเมล็ดเปือย ได้แก่ แปะก๊วย (Ginkgo biloba )



    9. Division Gnetophyta พืชที่สร้างเมล็ดเปือย ได้แก่ มะเมื่อย (Gnetum)



    10. Division Anthophyta  พืชที่สร้างเมล็ดมีสิ่งห่อหุ้ม ถือว่ามีวิวัฒนาการสูงสุด พบมากที่สุด ได้แก่ พืชดอก (Flowering plant)



ที่มา: http://www.student.chula.ac.th/~53370955/index.html
https://sites.google.com/site/gfopjrtigdioitwoirnlkfgoi/xanacakr-sing-mi-chiwit/xanacakr-phuch
http://www.youtube.com/watch?v=gJrOATCtV-k

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น